7 Things to Know About Thailand’s Proposed Act on Associations and Foundations
PUBLISHED: NOVEMBER 2024
(สามารถอ่านความเห็นฉบับภาษาไทยได้ในด้านล่าง)
In October 2024, Thailand’s Department of Provincial Administration under the Ministry of Interior proposed a new draft Act on Associations and Foundations (“draft Act” or “Bill”). The draft Act evinces a controlling approach to the non-profit sector which threatens to violate numerous aspects of international law.
Among other issues, we highlight seven key concerns with the current draft Act on Associations and Foundations:
1. NPOs CANNOT OPERATE WITHOUT BEING REGISTERED, SUBJECT TO CRIMINAL PENALTIES.1
The Bill appears to require associations and foundations (non-profit organizations or NPOs) to register with the Ministry of the Interior, prohibiting the existence of unregistered groups, which constitutes an impermissible restriction on the freedom of association under Article 22 of the International Covenant on Civil and Political Rights (ICCPR).2 The Bill further establishes criminal penalties (including significant fines and imprisonment) for not registering. Thus, the Bill criminalizes the exercise of the fundamental freedom of association.
The Bill also requires associations to have a minimum membership of 30 individuals, thereby prohibiting associations with fewer members from operating. Good regulatory practice suggests that minimum membership for associations should be set at no more than 2-3 members.
The Bill also envisions criminal penalties (including significant fines and imprisonment) for not registering, and other violations under the Act, including vague, undefined acts like “damage to other persons or to the public order or good morals of the people,” and conduct that is “a form of fraud against the public.”3 International law prohibits the imposition of criminal penalties against non-profit organizations for not registering and other minor transgressions, which should be dealt with administratively.4 Moreover, NPOs are already subject to existing domestic criminal and administrative law.
2. THE BILL AUTHORIZES SIGNIFICANT INTERFERENCE IN THE INTERNAL AFFAIRS OF NPOS.
The Bill establishes unreasonable requirements for association directors that are discriminatory (e.g., “at least 20 years old”) and vague (e.g., not “disreputable,” not “hostile to democratic rule with the King as Head of State”),5 and thereby prone to subjective enforcement. The Bill imposes citizenship requirements on association boards (at least half must be Thai nationals), interfering with the freedom of association to select board members that the association deems best suited for that role. The Bill restricts organization names, which must include the word “Association.”6 The Bill further requires meeting notes and notices, regulations, new member lists, and balance sheets to be submitted to the registrar on a regular basis; such requirements, and particularly “meeting notes” and “new member lists” threaten to violate an NPO’s right to privacy. The registrar has the power to remove and appoint non-profit personnel, issue orders, and repeal non-profit decisions.7 This level of interference in internal non-profit affairs is incompatible with international law, which calls for minimal government interference in non-profit activities.8
3. THE BILL AUTHORIZES INVASIVE INSPECTIONS.
The Bill allows the inspection of premises and documents without advance notice and searches without a search warrant issued by a judicial authority. It also subjects non-profit employees to burdensome audits and harassment by authorities without justification.9 Associations enjoy privacy and due process rights similar to private entities and should not be subject to excessive reporting or unannounced inspections.10
4. THE BILL AUTHORIZES DISSOLUTION FOR NON-COMPLIANCE.
The registrar has the power to dissolve associations and foundations that operate “contrary to the law or public morality, or that may endanger the public peace or national security”11 – vague terms that give the government broad discretion to terminate non-profit organizations. In addition, the registrar is able to dissolve non-profits for minor actions of non-compliance with law (such as ceasing operations for two years, having fewer than thirty members, or failing to submit an annual report).12
Under international law, termination is among the severest restrictions of freedom of association and is only allowed “when there is a clear and imminent danger resulting in a flagrant violation of national law.”13 The draft Act opens the door to termination on grounds that fall short of this high standard.
5. THE BILL VESTS OVERSIGHT OF NPOS WITH THE MINISTRY OF THE INTERIOR AND CREATES CONDITIONS FOR POLITICIZED DECISION-MAKING.
The Bill houses oversight of associations and foundations under the Ministry of Interior,14 whose institutional mandate is security. This raises serious questions regarding the politicized nature of government oversight. Moreover, the Bill envisions a complex supervisory committee comprised of political appointees, security officials, and “qualified committee members” appointed by the Ministry of Interior to advise on non-profit oversight and appeals.15 The composition of the committee underscores concerns that decisions related to associations and foundations could be politicized and result in significant delays.
The UN Human Rights Committee has clearly laid out the obligations of States to take appropriate measures to ensure that they live up to their legal obligations under the ICCPR, including the need to adopt legislative, judicial, administrative, and other appropriate measures to fulfil their legal obligations.16 Effective regulatory practice suggests that the regulatory agency responsible for NPO registration and supervision should have some measure of independence from political control and should possess sufficient capacity and knowledge of civil society, its diversity, and how NPOs function. The Ministry of Interior and supervisory committee envisioned by the NGO Bill almost certainly fall short of these standards.
6. THE BILL COULD LEAD TO BURDENSOME, INTRUSIVE REPORTING ON FOREIGN FUNDING.
The Bill requires reporting of foreign funding17—where the NPO receives an amount above a threshold to be determined by the Minister of Interior—to the government. While States may require that certain types of NPOs file reports in specific circumstances, international standards provide that such reporting should not be arbitrary or burdensome. The Special Rapporteur on the rights to freedom of peaceful assembly and of association asserts that NPOs and their donors enjoy privacy and non-interference rights similar to private entities and should not be subject to excessive or invasive reporting.18 The government must ensure that it has a clear legal basis for any reporting requirements, and that the information demanded is proportional to the legitimate aim pursued: “Reporting requirements, where these exist, should not be burdensome [and] should be appropriate to the size of the association and the scope of its operations.”19 A blanket requirement for the reporting of foreign funding, where the threshold for reporting is unclear, is not clearly linked to a legitimate government aim, is likely to be burdensome for smaller organizations, and could raise privacy concerns for NPOs and their donors.
7. PROHIBITIONS ON NPO OPERATIONS ARE TOO BROAD AND COULD LIMIT LEGITIMATE NPO ACTIVITY.
The Bill restricts both association and foundation actions that could threaten the economy, national security, public peace or morality. These restrictions are vague and overbroad, inviting arbitrary and subjective enforcement. For instance, a public health organization distributing information on sexually transmitted diseases could be accused of impacting public morality; or an environmental group calling for a sustainable approach to development could be implicated for ‘threatening the economy.’ International law allows associations to pursue a wide range of purposes and activities; the freedom of association may only be limited when strictly necessary, with measures that are proportionate and narrowly tailored to one of a limited number of well-defined purposes.
ICNL will continue to monitor legal developments around draft NPO laws in Thailand. For more information or a more detailed analysis, please contact asia@icnl.org.
[1] Bill, Section 6.
[2] Thailand acceded to the ICCPR on 29 October 1996 and is bound by its provisions.
[3] Bill, Chapter 6, Sections 51-63.
[4] United Nations Human Rights Council, A/HRC/20/27, “Report of UN Special Rapporteur on the rights to freedom of peaceful assembly and of association, Maina Kiai,” May 21, 2012, para 78.
[5] Bill, Section 17
[6] Bill, Sections 15, 17.
[7] Bill, Section 20-21.
[8] UNSR Report 2012, supra note 4, para 64: “Members of associations should be free to determine their statutes, structure and activities and make decisions without State interference.”
[9] Bill, Section 49.
[10] UNSR Report 2012, supra note 4, para 65: “Authorities must …respect the right of associations to privacy as stipulated in article 17 of the Covenant on Civil and Political Rights.”
[11] Bill, Section 31.
[12] Bill, Section 31.
[13] UNSR Report 2012, supra note 4, para 75.
[14] Bill, Section 5.
[15] Bill, Section 9.
[16] Human Rights Committee, CCPR General Comment No. 31 (The Nature of the General Legal Obligation Imposed on States Parties to the Covenant), CCPR/C/21/Rev.1/Add.13, 26 May 2004, para. 8.
[17] Bill, Section 8. Specifically, “Any funds or donations from other organizations, agencies, or foreign private individuals exceeding the threshold set by Ministerial announcement must be reported to the Registrar within fifteen days of receipt.”
[18] UNSR Report 2012, supra note 4, para 65.
[19] Organization for Security and Co-operation in Europe’s (OSCE’s) Office for Democratic Institutions and Human Rights (ODIHR), “Guidelines on Freedom of Association” December 17, 2014, para. 227, https://www.osce.org/odihr/132371?download=true
7 สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติสมาคมและมูลนิธิฯ ของประเทศไทย
จัดพิมพ์ในเดือนพฤศจิกายน 2567
ตามที่กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติสมาคมและมูลนิธิ (“ร่างกฎหมาย” หรือ “ร่างพระราชบัญญัติ”) ในช่วงเดือนตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา ปรากฏว่าร่างกฎหมายดังกล่าวกลับมีเนื้อหาเป็นการควบคุมองค์กรไม่แสวงผลกำไรและมีแนวโน้มเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศเป็นอย่างมาก
จากบรรดาข้อน่ากังวลทั้งหมด ทางเราได้คัดเลือกประเด็นที่น่ากังวล 7 ประการที่ร่างกฎหมายดังกล่าวมีต่อสมาคมและมูลนิธิ ดังนี้:
1. การกำหนดให้สมาคมและมูลนิธิทุกแห่งต้องขึ้นทะเบียน โดยหากฝ่าฝืนจะต้องรับโทษทางอาญา.[1]
ร่างกฎหมายฉบับนี้จะบังคับให้องค์กรไม่แสวงหากำไรทุกประเภทและทุกขนาดต้องขึ้นทะเบียนกับกระทรวงมหาดไทย ข้อกำหนดนี้จะส่งผลให้การดำรงอยู่ของกลุ่มที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นเรื่องต้องห้าม ซึ่งถือเป็นการจำกัดเสรีภาพในการรวมกลุ่มที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 22 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR.[2]
ร่างกฎหมายดังกล่าวยังกำหนดให้การขอจดทะเบียนสมาคมต้องประกอบไปด้วยรายชื่อสมาชิกไม่น้อยกว่า 30 คน ซึ่งเป็นการห้ามไม่ให้บรรดาองค์กรที่มีสมาชิกน้อยกว่าจำนวนดังกล่าวได้มีโอกาสดำเนินการ ทั้งที่แนวปฏิบัติที่ดีในการกำกับดูแลมักจะแนะนำให้สามารถจัดตั้งสมาคมได้แม้ว่าจะมีสมาชิกเพียงสองถึงสามคน
ร่างพระราชบัญญัติยังกำหนดบทลงโทษทางอาญา (รวมถึงค่าปรับจำนวนมากและการจำคุก) สำหรับการไม่ขึ้นทะเบียนและสำหรับการกระทำอื่นๆที่ฝ่าฝืนร่างพระราชบัญญัติ ซึ่งรวมถึงการกระทำที่ถูกนิยามไว้อย่างคลุมเครือ เช่น การกระทำที่ “น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน” และการกระทำที่ถูกนิยามว่า “เป็นการฉ้อโกงประชาชน”[3] กฎหมายระหว่างประเทศห้ามการกำหนดบทลงโทษทางอาญาสำหรับการไม่จดทะเบียนและการกระทำเล็กน้อยอื่น ๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่ควรจะถูกดำเนินการผ่านกลไกทางการบริหาร [4] เนื่องจากว่าองค์กรไม่แสวงหากำไรเหล่านี้ต่างอยู่ภายใต้กฎหมายอาญาและกฎหมายบริหารภายในประเทศที่มีอยู่แล้ว
2. ร่างกฎหมายดังกล่าวอนุญาตให้มีการแทรกแซงการกำกับดูแลภายในขององค์กรไม่แสวงหากำไรเป็นอย่างมาก
ร่างกฎหมายได้กำหนดคุณสมบัติของกรรมการองค์กรไม่แสวงหากำไรไว้โดยไม่สมเหตุสมผล เช่น การกำหนดว่ากรรมการต้อง “มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี” ไม่เป็น “ผู้มีพฤติกรรมเสื่อมเสีย” หรือ “เป็นปรปักษ์ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”[5] Iทั้งยังจำกัดสัญชาติของคณะกรรมการสมาคมไว้ว่าจะต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทยเกินกึ่งหนึ่ง รวมถึงมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการตั้งชื่อ โดยกำหนดให้ชื่อองค์กรต้องมีคำว่า “สมาคม” [6] ร่างพระราชบัญญัติยังกำหนดให้ต้องส่งรายงานการประชุม ใบบอกกล่าว ข้อบังคับ รายชื่อสมาชิกใหม่ ตลอดจนงบการเงินต่อนายทะเบียนเป็นประจำ ทั้งยังให้อำนาจนายทะเบียนถอดถอนหรือแต่งตั้งคณะกรรมการสมาคมหรือมูลนิธิได้ ตลอดจนมีอำนาจในการออกคำสั่งและเพิกถอนมติขององค์กรไม่แสวงหากำไร[7] ซึ่งระดับการแทรกแซงดังกล่าวนี้ไม่สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งสนับสนุนให้รัฐแทรกแซงกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหาผลกำไรในระดับที่น้อยที่สุด[8]
3. ร่างกฎหมายให้อำนาจเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบสถานที่ของมูลนิธิและสมาคมอย่างกว้างขวาง
ร่างกฎหมายฉบับนี้ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ในการตรวจต้นสถานที่และเอกสารของสมาคมมูลนิธิโดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้าและโดยไม่ต้องมีหมายศาล ทำให้บุคลากรขององค์กรไม่แสวงหากำไรต้องรับภาระหนักจากการถูกสอบสวนและอาจถูกกลั่นแกล้งจากเจ้าหน้าที่อย่างไม่เป็นธรรม[9] สมาคมและมูลนิธิควรมีสิทธิในความเป็นส่วนตัวและสิทธิตามกระบวนการทางกฎหมายเช่นเดียวกับองค์กรเอกชน และไม่ควรอยู่ภายใต้เงื่อนไขการจัดทำรายงาน หรือการตรวจค้นโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า[10]
4. ร่างกฎหมายให้อำนาจนายทะเบียนสั่งถอนชื่อมูลนิธิและสมาคมที่ดำเนินกิจการโดยฝ่าฝืน
โดยนายทะเบียนมีอำนาจสั่งเลิกมูลนิธิและสมาคมจากที่ดำเนินกิจการในลักษณะที่ “ขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรืออาจเป็นภัยต่อความสงบสุขของประชาชนหรือความมั่นคงของรัฐ”[11] – ถ้อยคำกำกวมเช่นนี้ให้อำนาจแก่รัฐบาลอย่างไร้ข้อจำกัดในการเลิกองค์กรไม่แสวงหากำไรเกือบทุกประเภทไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆ นอกจากนี้ นายทะเบียนยังอาจใช้อำนาจเลิกองค์กรไม่แสวงหากำไรเนื่องจากการไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบเพียงเล็กน้อย เช่น การหยุดดำเนินกิจการติดต่อกันเป็นเวลาสองปีขึ้นไป เมื่อมีสมาชิกน้อยกว่าสามสิบคน หรือเมื่อไม่ส่งสำเนารายงานประจำปี[12]
ตามกฎหมายระหว่างประเทศ การเลิกองค์กรถือเป็นการจำกัดเสรีภาพในการสมาคมในระดับรุนแรงที่สุด และอาจกระทำได้เฉพาะในกรณีที่ “ปรากฏว่ามีภยันตรายที่ชัดเจนและใกล้จะเกิดขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการละเมิดกฎหมายภายในของรัฐอย่างร้ายแรง”[13] ร่างกฎหมายฉบับนี้เปิดช่องให้มีการเลิกองต์กรไม่แสวงหากำไรโดยอาศัยเหตุที่ไม่สอดคล้องกับมาตรฐานดังกล่าว
5. ร่างกฎหมายให้กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้มีอำนาจกำกับดูแลและเปิดช่องให้มีการแทรกแซงโดยฝ่ายการเมือง
ร่างกฎหมายให้กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้มีอำนาจกำกับดูแลทั้งที่กระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานที่มุ่งเน้นด้านความมั่นคง[14] กรณีดังกล่าวย่อมทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการแทรงแซงทางการเมืองโดยรัฐ นอกจากนั้นร่างพระราชบัญญัติยังกำหนดให้มีการควบคุมผ่านระบบคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งจากฝ่ายการเมืองซึ่งประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่ที่ทำงานด้านความมั่นคง และ คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ได้รับการแต่งตั้งผ่านกระทรวงมหาดไทยเพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับการกำกับดูแลและการอุทธรณ์[15] โครงสร้างดังกล่าวเปิดช่องให้เกิดการแทรกแซงทางการเมืองและอาจก่อให้เกิดความล่าช้าอย่างมาก ในกระบวนการที่ควรจะเป็นการบริหารงานทางปกครองที่เรียบง่าย
คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติได้กำหนดหน้าที่ของรัฐในการเลือกใช้มาตรการที่จะช่วยยืนยันว่ารัฐเหล่านั้นได้ปฏิบัติตามหน้าที่ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR)b โดยรวมถึงการออกกฎหมาย การใช้กระบวนการทางศาล และกระบวนการทางการบริหารเพื่อให้บรรลุหน้าที่ตามกฎหมายระหว่างประเทศดังกล่าว[16] แนวปฏิบัติที่ดีในการกำกับดูแลมักเสนอให้บรรดาองค์กรที่ทำหน้าที่ขึ้นทะเบียนและกำกับดูแลองค์กรไม่แสวงหากำไรมีความเป็นอิสระจากฝ่ายการเมือง และควรมีศักยภาพตลอดจนความเข้าใจมากพอต่อความหลากหลายและลักษณะการดำเนินงานของภาคประชาสังคม ทั้งนี้กระทรวงมหาดไทยและคณะกรรมการกำกับดูแลที่ร่างกฎหมายฉบับนี้กำหนดขึ้นนั้นขาดซึ่งคุณลักษณะที่กำหนดไว้อย่างชัดแจ้ง
6. ร่างกฎหมายดังกล่าวสร้างภาระอันเกินควรเนื่องจากการจัดทำรายงานการรับเงินอุดหนุนจากต่างประเทศ
ร่างกฎหมายกำหนดให้องค์กรต้องรายงานต่อนายทะเบียนเมื่อองค์กรได้รับเงินอุดหนุนจากต่างประเทศ [17]หากว่าได้รับเงินมากกว่าเกณฑ์ที่กระทรวงมหาดไทยจะได้กำหนดขึ้น.
ในขณะที่รัฐอาจกำหนดให้องค์กรไม่แสวงหากำไรบางชนิดต้องจัดทำรายงานในสถานการณ์บางกรณี มาตรฐานระหว่างประเทศกำหนดให้การรายงานดังกล่าวต้องไม่สร้างภาระหรือเป็นไปตามอำเภอใจ ผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิในการชุมนุมโดยสงบและสิทธิในการสมาคมได้ให้ความเห็นไว้ว่า องค์กรไม่แสวงหากำไรและผู้บริจาคมีสิทธิในความเป็นส่วนตัวและสิทธิที่จะไม่ถูกแทรกแซง เช่นเดียวกับองค์กรเอกชนอื่น ๆ และไม่ควรถูกบังคับให้ต้องจัดทำรายงานที่เกินความจำเป็นหรือเป็นการละเมิดสิทธิ[18] รัฐจะต้องดำเนินการที่แสดงให้เห็นว่ามีฐานทางกฎหมายในการกำหนดเงื่อนไขให้จัดทำรายงาน ตลอดจนกำหนดให้บรรดาข้อมูลที่นำส่งเป็นไปอย่างได้สัดส่วนต่อเป้าหมายอันชอบธรรมที่ต้องการจะบรรลุ “เงื่อนไขการจัดทำรายงาน หากมีการบังคับใช้ ควรเป็นไปโดยไม่สร้างภาระ และควรเป็นไปอย่างเหมาะสมโดยคำนึงถึงขนาดขององค์กรและขอบเขตกิจการขององค์กรนั้นๆ”[19]
การกำหนดเงื่อนไขเป็นการทั่วไปให้รายงานการรับเงินอุดหนุนจากต่างประเทศ โดยไม่มีเกณฑ์ที่ชัดเจน และไม่ปรากฎว่ามีความเชื่อมโยงกับวัตถุประสงค์อันชอบด้วยกฎหมายของรัฐอย่างไร จึงเป็นการสร้างภาระเกินควรให้กับองค์กรขนาดเล็ก และสร้างความกังวลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวขององค์กรไม่แสวงหากำไรและผู้สนับสนุน.
7. กำหนดข้อห้ามไม่ให้ดำเนินการไว้กว้างเกินไปซึ่งอาจเป็นการจำกัดกิจการที่ชอบด้วยกฎหมายขององค์กรไม่แสวงผลกำไร
ร่างกฎหมายห้ามไม่ให้สมาคมและมูลนิธิทำการใดที่อาจเป็นภัยต่อเศรษฐกิจ ความมั่นคงของชาติ ความสงบสุขของประชาชน หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ข้อห้ามดังกล่าวมีลักษณะกำกวมและครอบคลุมเกินไป จึงเปิดช่องให้มีการบังคับใช้กฎหมายตามอำเภอใจและด้วยมุมมองเชิงอัตวิสัย ตัวอย่างเช่น องค์กรที่เคลื่อนไหวด้านสาธารณสุขด้วยการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศอาจถูกกล่าวหาว่าดำเนินการที่อาจเป็นภัยต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือ องค์กรด้านสิ่งแวดล้อมที่ผลักดันการพัฒนาอย่างยั่งยืนอาจถูกกล่าวหาว่ากระทำการอันเป็นภัยต่อเศรษฐกิจของชาติ. กฎหมายระหว่างประเทศอนุญาตให้บรรดาสมาคมต่างๆดำเนินการเพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างหลากหลาย เสรีภาพในการรวมกลุ่มจะถูกจำกัดได้ต่อเมื่อจำเป็นอย่างแท้จริง โดยมาตรการที่ใช้ต้องได้สัดส่วน และถูกออกแบบมาอย่างเหมาะสมเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้อย่างชัดเจน
ไอซีเอนแอลจะติดตามความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับ ร่างพระราชบัญญัติฯ.ต่อไป สำหรับข้อมูลหรือบทวิเคราะห์โดยละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ทาง contact asia@icnl.org.
[1] มาตรา 6 ของร่างกฎหมาย.
[2] ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีของ ICCPR เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2539 และผูกพันตามบทบัญญัติของกติกาดังกล่าว
[3] หมวด 6 มาตรา 51-63 ของร่างกฎหมาย
[4] คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ, A/HRC/20/27, “รายงานของผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิในการชุมนุมโดยสงบและสิทธิในการสมาคม, ไมนา เคียอิ,” วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2555, วรรค 78
[5] มาตรา 17 ของร่างกฎหมาย
[6] มาตราs 15, 17 ของร่างกฎหมาย
[7] มาตรา 20-21ของร่างกฎหมาย
[8] อ้างแล้วที่เชิงอรรถ 4, วรรคที่ 64: “สมาชิกของสมาคมควรสามารถกำหนดข้อบังคับ โครงสร้างองค์กร กิจการขององค์กร และตัดสินใจไปได้โดยปราศจากการแทรกแซงของรัฐ”
[9] มาตรา 49 ของร่างกฎหมาย
[10] อ้างแล้วที่เชิงอรรถ 4, วรรคที่ 65: “เจ้าหน้าที่รัฐจะต้องเคารพสิทธิในความเป็นส่วนตัวของสมาคม ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 17 ของ ICCPR”
[11] มาตรา 31 ของร่างกฎหมาย
[12] มาตรา 31 ของร่างกฎหมาย
[13] อ้างแล้วที่เชิงอรรถ 4, วรรคที่75.
[14] มาตรา 5 ของร่างกฎหมาย
[15] มาตรา 9 ของร่างกฎหมาย
[16] ข้อวินิจฉัยของคณะมาตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติที่ 31 (ลักษณะของพันธกรณีตามกฎหมายทั่วไปที่รัฐภาคีต้องปฏิบัติตาม), CCPR/C/21/Rev.1/Add.13, วันที่ 26 พฤษภาคม 2547 วรรคที่ 8.
[17] มาตรา 8 โดยเฉพาะส่วนที่ระบุว่า “กรณีได้รับเงินอุดหนุนหรือเงินบริจาคจากองค์กร หน่วยงาน หรือเอกชนต่างประเทศเกินจำนวนที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดจะต้องรายงานต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับเงินอุดหนุนหรือเงินบริจาคนั้น.”
[18] อ้างแล้วที่เชิงอรรถ 4, วรรค 65.
[19] องค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป (OSCE’s) สำนักงานเพื่อสถาบันทางประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน (ODIHR), “คู่มือว่าด้วยเสรีภาพในการรวมกลุ่ม” 17ธันวาคม 2557 วรรค 227, เข้าถึงได้ที่ https://www.osce.org/odihr/132371?download=true